รวม 3 เทคนิคพักผ่อนแบบไม่ต้องรู้สึกผิด จากรายการ The ORGANICE

Last updated on พ.ค. 3, 2024

Posted on พ.ค. 3, 2024

เมื่อเหนื่อยก็ต้องพัก การพักผ่อนมีหลายรูปแบบ เมื่อเหนื่อยเราก็ต้องพักเป็นเรื่องธรรมดา แต่กลับกันบางคนรู้สึกว่า “พักแล้วรู้สึกผิด” ใครที่กำลังเป็นแบบนี้อยู่ มานั่งทบทวนอ่านบทความนี้ เพื่อค้นหาวิธีที่จะทำให้เราไม่รู้สึกผิดกับการพักผ่อน และเพิ่มพลังในการทำงานได้อย่างเต็มที่!

มีสองประโยคที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกผิด

🥹 คำแรกคือ ‘VACATION GUILT’ หรือความรู้สึกผิดที่จะพัก คำนี้พบได้บ่อยถึง 66% ของวัยทำงานโดยเฉพาะคนที่มีภาระความรับผิดชอบเยอะ ก็จะรู้สึกผิดมาก แต่กลับกันคนกลุ่มนี้กลับอยากพักผ่อนมากกว่าใครเพื่อน แต่ว่าในใจกลับรู้สึกว่าตัวเราไม่สมควรได้พัก

🥹 คำที่สองคือ ‘PRODUCTIVITY SHAME’ หรือความรู้สึกผิดที่ทำไม่มากพอ ความรู้สึกผิดนี้คือ รู้สึกละลายใจเมื่อไม่ได้ทำงาน หรือละอายใจที่กำลังพักผ่อน คล้าย ๆ กับคนที่ว่างเมื่อไหร่รู้สึกผิด เคยเป็นกันไหม ? อาการเหล่านี้มักจะเกิดกับคนที่ต้องบริหารเวลาไม่ให้ตกหล่นอยู่เสมอ หรือกลุ่มคนที่ทำอาชีพ Project Manager หรือผู้ช่วยที่ต้องคอยบริหารเวลาตลอดเวลา เป็นคนที่ชอบทำงานเสร็จตามกำหนดเวลา

หากเพื่อน ๆ ลองสังเกตจะเห็นว่า จุดร่วมของ 2 เรื่องนี้คือ “เรารู้สึกผิด” ไม่ว่าจะรู้สึกผิดที่จะพัก หรือรู้สึกผิดเพราะว่าง ดังนั้นเราจะมาสำรวจไปพร้อม ๆ กันถึง 2 เรื่องนี้ รวมถึงเทคนิคที่จะช่วยให้เราไม่รู้สึกผิดอีกต่อไป

ก่อนอื่นเราต้องสำรวจและตอบตัวเองให้ได้ว่า ‘นี่เราขี้เกียจ’ หรือ ‘เรากำลังเหนื่อย’

🤔 ถ้าสำรวจแล้ว = คุณกำลังขี้เกียจ

ความขี้เกียจถ้ามาผิดเวลา น่ากลัวมาก เพราะจะทำให้กระทบกับทั้งตัวเอง และคนรอบข้าง เพราะเมื่องานไม่เสร็จความเสียหายก็จะเกิดขึ้น แต่กลับกันถ้าความขี้เกียจมาถูกเวลา เพราะเป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์ และเราจะหาเครื่องมือมาใช้ เพื่อทำให้น้อยแต่ได้ผลลัพธ์มาก ๆ และผิดพลาดน้อยด้วย เพราะเราขี้เกียจกลับมาแก้ไขนั่นเอง เราจึงโฟกัสเรื่องนั้นอย่างเต็มที่เพื่อหาผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น

🤔 ถ้าสำรวจแล้ว = ตอนนี้คุณกำลังเหนื่อย

ลองสังเกตว่าสิ่งที่เคยวางแผนไว้ แล้วแผนนั้นเคยทำได้ดี แต่ปัจจุบันทำได้ไม่ดีแล้ว อาจจะเพราะร่างกายไม่ไหว, ตัดสินใจช้าลง จึงทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาไม่ดี ซึ่งเกิดจากการเหนื่อยล้าของสมอง หรือร่างกายของเรา เป็นสัญญาณของร่างกายที่กำลังบอกว่าคุณควรหยุดพัก และฟื้นฟูร่างกายบ้าง ยิ่งเราฝืนต่อไปเรื่อย ๆ ผลลัพธ์นั้นคุณไม่ได้สร้างผลงาน แต่กำลังสร้างความผิดพลาดให้คุณต้องกลับมาแก้ไข การพักผ่อนที่ดีเสมือนการทำงานที่เราต้องดูแลทรัพยากรร่างกายให้พร้อม เพื่อกลับมาทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั่นเอง

เมื่อคุณสำรวจแล้ว หลังจากนี้มาดูเทคนิคกันดีกว่า ว่าเราจะจัดการอย่างไรให้พักได้อย่างเต็มพลัง และไม่รู้สึกผิดอีกต่อไป

❤️ 1. วางแผนก่อนพัก

คุณรู้สึกผิดเพราะมีคนทำงานอยู่ และจะยิ่งรู้สึกผิดมากกว่าเดิมคือมีคนโทรมาหาเราตอนพัก ดังนั้นการวางแผนสำคัญมาก โดยเริ่มจากเข้าใจก่อนว่า ‘พฤติกรรมการทำงานในแต่ละวันของคุณทำอะไรบ้าง’ ทุกคนมีแนวทาง มีเส้นทางการทำงานที่ต่างกัน เช่น

👉 งานนั้นสามารถทำให้เสร็จก่อนถึงวันพักผ่อนได้ไหม ?
👉 เราสามารถเตรียมข้อมูล หรืองานนั้น ๆ ให้เสร็จดีแล้วก่อนวันพักผ่อนได้ไหม ?
👉 มีงานอะไรบ้าง ที่ให้เพื่อนร่วมงาน หรือคนในทีมซัพพอร์ตก่อนได้ไหม ?
👉 มีโปรแกรม หรือใช้เทคโนโลยีอะไรบ้าง ที่ใช้ทำแทนในวันที่เราหยุดได้ไหม ?

หรือแม้กระทั่งมีอะไรที่ข้ามไปก่อนได้ไหม งานนั้นอาจจะไม่ได้เร่งด่วนก็ได้ เรื่องเหล่านี้สำคัญมาก หากคุณจัดลำดับความสำคัญ และวางแผนล่วงหน้าก่อนได้ จะช่วยให้เราเตรียมตัวก่อนวันพักได้อย่างสบายใจที่สุด


❤️ 2. วางแผนระหว่างพัก

ในวันที่คุณพัก ลองถามสถานการณ์การทำงานก่อนว่า อยู่ในระดับไหน โดยปกติงานก็มี 3 ระดับ

👉 ระดับที่ 1 = ชิล ๆ ไม่มีงานเร่งด่วน
👉 ระดับที่ 2 = กลาง ๆ ยังพอมีเวลา หรืออาจจะอยู่ในช่วงเตรียมงานใหญ่
👉 ระดับที่ 3 = เดือด! สถานการณ์เข้มข้น จะเกิดงานใหญ่ จะเกิดเรื่องสำคัญ

ลองประเมินล่วงหน้าให้ดีว่าเรากำลังเผชิญหน้าในสถานการณ์ไหนอยู่ ?

ถ้าสถานการณ์อยู่ในระดับ 1 ถือว่าง่ายที่สุดต่อการพักผ่อน คุณไม่ต้องทำอะไรเลย พักให้เต็มที่ แต่กลับกันถ้าคุณไปพักในช่วงสถานการณ์ ระดับ 2 ก็อาจจะลองมีส่วนร่วมบ้าง เช่น แวะเช็กอีเมล, เช็กแชตบ้างหลังจากทานข้าวเช้า 15-30 นาที ก็ยังพักได้อยู่แบบไม่หนักมาก

แต่ถ้าเป็นการพักในระดับที่ 3 บอกเลยว่ายากแทร่! ส่วนใหญ่มักจะเกิดในช่วงเราลาพักยาว ๆ แล้วอยู่ ๆ ดันมาเจองานด่วนกะทันหัน จึงทำให้การพักของเราเหมือนโยนก้อนน้ำแข็งลงไปในหม้อแกงเดือด กลายเป็นว่าเราต้องทำใจไว้บ้าง เพราะน้ำเดือดกำลังเล่นงานคุณอยู่แน่ ๆ

ดังนั้นการแก้ไขที่ทำได้คือ ถ้าเราไม่สามารถยกเลิกวันลาได้ เราอาจจะต้องมีคนช่วย ต้องมอบหมายหน้าที่ให้คนในทีมดูแลก่อน และต้องบอกถึงเนื้องานข้อมูลต่าง ๆ ที่เขาคนนั้นจะต้องจัดการแทนคุณ รวมถึงตัวคุณเองต้องชัดเจนในการแจ้งว่า เราจะกลับมาจัดการต่อได้ในวันไหน ช่วงเวลาไหนอย่างชัดเจน


❤️ 3. วางแผนหลังพัก

ฟังดูชิลไม่น้อย คำว่าวางแผนหลังพัก สิ่งนี้สำคัญมาก เพราะยิ่งสถานการณ์ราบรื่นเท่าไหร่ คุณจะยิ่งพักผ่อนได้สดชื่น และเต็มที่แบบสุด ๆ เพราะการวางแผนหลังพักเปรียบเสมือนการเตรียมความพร้อม ก่อนที่จะเริ่มกลับมาทำงานนั่นเอง ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี เช่น

👉 บางคนเป็นสายสนุกสนาน น่ารัก ซื้อขนมมาฝากน้อง ๆ เพื่อน ๆ ในทีม แล้วชวนคุยกันแต่ก็มีอัปเดตงานกันบ้าง เพื่อสร้างบรรยากาศไม่ให้เครียดจนเกินไป แต่ก็ยังได้คุยงานกันแบบครบถ้วน

👉 หรือบางคนใช้ช่วงเวลานี้เคลียร์อีเมล เคลียร์แชต ด้วยการตั้งหลักไว้อาจจะอ่านบ้างเล็กน้อย ตอบบ้างเล็กน้อย เพื่อไม่ให้การทำงานวันแรกเยอะจนเกินไป และทำให้การทำงานวันแรกได้มีเวลาไปใช้พลังกับเรื่องอื่น ๆ ได้อีกด้วย

โดยสรุปแล้วหัวใจสำคัญของการทำงานที่เราจะไม่รู้สึกผิดเมื่อได้พักคือ เราพักแล้วไม่มีใครเดือดร้อน รู้ว่าตัวเองควรได้พักจากความเหนื่อยล้า ซึ่งเรื่องเหล่านี้เกิดจากการวางแผนก่อนพัก-ระหว่างพัก-หลังพัก นั่นเอง


สำหรับคนที่อยากพัฒนาธุรกิจ มองหาไอเดียใหม่ ๆ มาร่วมไขทุกมุมมองกันที่งาน AP Thailand presents CREATIVE TALK CONFERENCE 2024

พบกันวันที่ 7-8 มิถุนายน ที่ไบเทค บางนา
บัตรราคาเพียง 1,790 บาท!

CREATIVE TALK CONFERENCE 2024 | Zipevent - Inspiration Everywhere
CREATIVE TALK CONFERENCE 2024 -

สำหรับท่านใดที่สนใจออกบูธ และสปอนเซอร์ หรือซื้อบัตรองค์กรสามารถติดต่อได้ที่

👉 mkt@rgb72.com
👉 083-262-6923 (คุณจูน)
👉 095-465-2582 (คุณมุก)

สำหรับท่านใดที่สนใจเข้าร่วมเป็น Media Partner ติดต่อได้ที่

👉 chayanis@creativetalklive.com
👉 089-223-6996 (คุณต้นรัก)


แปล เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ

ดูอีพีนี้เต็มรูปแบบได้ที่

รู้สึกผิดที่จะพัก จัดการอย่างไรให้พักได้อย่างเต็มพลัง - THE ORGANICE 330
เมื่อเหนื่อยก็ต้องพัก แต่พอจะพักก็รู้สึกผิดอีกว่ากำลังอู้หรือขี้เกียจอยู่หรือเปล่า พักไปทำงานไปก็ไม่มีพลังอยู่ดี จะทำอย่างไรให้พักได้เต็มที่และมีพลังมาทำงานต…
trending trending sports recipe

Share on

Tags