5 เทคนิคช่วยให้ทีมกล้าคิด กล้าพูดมากขึ้น

ได้ครับพี่ ดีครับผม เหมาะสมครับท่าน ทำเท่าไหร่ลูกทีมก็มีแต่ชอบพยักงานไม่ออกความเห็น แล้วลีดเดอร์จะทำยังไงเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมอันปลอดภัยให้พวกเขาพูดสิ่งที่อยู่ในใจออกมาดี

Last updated on เม.ย. 29, 2024

Posted on เม.ย. 21, 2024

จะทำยังไงให้ลูกทีมเลิกพยักหน้า และกล้าพูดสิ่งที่อยู่ในใจออกมา

การทำงานยุคนี้ สิ่งหนึ่งที่องค์กรมากมายควรตระหนักคือ การส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่พนักงานรู้สึกสบายใจในการกล้าพูด เพราะสิ่งนี้นับเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของบริษัท โดยหนึ่งในคุณลักษณะที่ดีของทีมระดับ High performance คือการที่สมาชิกกล้าพูดคุยถึงสิ่งที่พวกเขาคิดไม่เหมือนกัน ในขณะเดียวกันก็เคารพความคิดของคนอื่น

สำหรับผู้นำแล้ว ความกล้าพูดของลูกทีมคือสิ่งที่เราควรกลับมาตระหนัก เพราะเราควรสร้างสภาพแวดล้อมอันปลอดภัย ที่ทำให้ลูกทีมไม่เพียงแต่รู้สึกมีคุณค่า แต่ยังกล้าพูดอย่างเปิดกว้าง มีความโปร่งใส และกล้าพูดจากใจจริง จนช่วยให้เราสร้างทีมระดับ High performance ขึ้นมาได้ 

เอมี ซี. เอ็ดมอนด์สัน (Amy C. Edmondson) เคยกล่าวไว้ในหนังสือ ‘องค์กรไม่กลัว (The Fearless Organization)’ ว่าผู้นำต้องสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้พวกเขากล้าพูด เวลาพนักงานตั้งคำถามหรือเข้าร่วมการอภิปราย เพราะการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ปลอดภัยต่อจิตใจ จะช่วยให้พนักงานได้ใช้ประโยชน์จากความคิดสร้างสรรค์ และสร้างสิ่งใหม่ ๆ ออกมาได้

5 เทคนิคนี้จะให้ลูกทีมกล้าพูด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในทีมให้ดีกว่าเดิม

1. หยุดสั่ง แล้วลงมือทำให้เด็กมันดู

แทนที่จะบอกลูกทีมว่าเขาต้องทำอะไร ให้ลองสอนพวกเขาแทน ซึ่งในระหว่างนี้ การถามคำถามปลายเปิดจะกระตุ้นให้สมาชิกในทีมกล้าพูด กล้าแสดงความคิด และเผยความรู้สึกออกมา 

หากมีใคร กล้าพูด กล้าแชร์สิ่งที่พวกเขาคิดจริง ๆ เราควรขอบคุณลูกทีมสำหรับความคิดเห็นที่เปิดกว้าง และตรงไปตรงมา เพราะหากเราไม่ให้พวกเขาพูดอะไร มันจะเป็นการสนับสนุนการซุกปัญหาไว้ใต้พรหม โดยที่ไม่มีเรารับรู้แทน


2. สนับสนุนให้กล้าเสี่ยง

ไม่ใช่แค่ลูกทีม แต่เราเองก็ต้องกล้าพูด ‘ว่าเราไม่รู้’

การที่ผู้นำยอมรับว่าไม่รู้คำตอบสำหรับทุกสิ่ง ยอมรับความล้มเหลวเมื่อเราผิด และการขอความช่วยเหลือเมื่อต้องการ มันเป็นการแสดงให้ลูกทีมเห็นว่า เรามีความมั่นใจ และกล้าที่จะเสี่ยงเพื่อพวกเขา ด้วยการกล้าพูดว่าไม่มีใครสมบูรณ์แบบ จะทำให้เราสามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับลูกทีมที่มีปัญหา ให้กล้ารับความเสี่ยง กล้าพูด กล้าแบ่งปันความรู้ และกล้าทำผิดพลาด ซึ่งเป็นการสนับสนุนความกล้าของลูกทีม เพื่อเพิ่มศักยภาพกว่าเดิม


3. สอนให้วิเคราะห์ปัญหาตรงหน้า

การถามคำถามกับลูกทีมช่วยให้ผู้นำสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ และปัญหาที่เราต้องเข้าใจเพื่อให้รันโปรเจกต์ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถ้าหากต้องการให้พวกเขากล้าพูด ผู้นำเองก็ต้องกล้าถามคำถามเหล่านี้:

👉 ถามคำถามปลายเปิดที่กระตุ้นให้ลูกทีมเกิดการคิด วิเคราะห์ จนกล้าพูด กล้าอธิบายเพิ่มเติม (ตรงข้ามกับคำถามที่มีคำตอบตายแบบ ใช่/ไม่ใช่ ซึ่งมักจะเป็นคำถามปิดการสนทนา)

👉 คำถามที่กระตุ้นให้ลูกทีมกล้าพูดคำตอบที่เฉพาะเจาะจง ตัวอย่างเช่น หากเราต้องการเข้าใจสถานการณ์ให้กว้างขึ้น เราอาจพูดว่า “พี่ไม่เห็นอะไรในปัญหานี้” หรือ “ใครมีไอเดียอื่นในเรื่องนี้บ้าง” และถ้าเราต้องการเข้าใจสถานการณ์อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น เราอาจถามพวกเขาว่า “ทำไมถึงคิดอย่างนั้น” หรือ “สิ่งที่คุณกำลังจะพูดต่อจากนี้มีอะไรบ้าง”


4. สร้างวัฒนธรรมแห่งความตรงไปตรงมา

เพื่อสร้างการสนทนาที่กล้าพูดอย่างตรงไปตรงมา เราต้องสื่อสาร และแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าผู้นำไม่เพียงแต่ยินดีรับความคิดเห็นที่แตกต่าง แต่ควรชื่นชมความคิดเห็นเหล่านั้นด้วย ซึ่งนี่เป็นวิธีที่เราสร้างรากฐานของการกล้าพูดในระดับบุคคล และทีมให้ประสบความสำเร็จ เพราะเมื่อเราบรรลุเป้าหมายนี้ได้ แต่ละคนจะเริ่มกล้าพูดต่อหน้าเพื่อนมากขึ้น กล้าแชร์มุมมองที่ไม่สบายใจกับกลุ่มอย่างเปิดเผย


5. แอ็กชันในตอนที่ลูกทีมพรีเซนต์

เอมี ซี. เอ็ดมอนด์สัน กล่าวว่าการเสริมกำลังใจให้ลูกทีมในเชิงบวกเมื่อพวกเขามีพรีเซนต์ หรือแสดงความคิดเห็นตอนพูด จะช่วยให้ลูกทีมกล้าพูดมากขึ้น ซึ่งการออกแอ็กชันนี้จะมีความสำคัญอย่างยิ่งในที่ทำงานหรือที่ประชุม เนื่องจากเป็นการที่แสดงว่าผู้นำ รับรู้ถึงปัญหาที่ลูกทีมกำลังเผชิญ แม้ว่าพวกเขาจะทำทุกถูกต้องก็ตาม ตัวอย่างเช่น หัวหน้าอาจใช้วิธีสอนพนักงานทั้งสองคนด้วยวิธีการเดียวกัน แม้ว่ามันอาจมีผลลัพธ์ที่ได้ไม่เหมือนกัน อันเนื่องมาจากปัจจัยที่อยู่นอกเหนือจากการควบคุมอย่างการเรียนรู้ของแต่ละคน

เพื่อส่งเสริมให้ลูกทีมกล้าพูด คนเป็นผู้นำเองก็ควรตั้งใจฟังเมื่อพวกเขาถามคำถาม และเราเองก็ต้องกล้าแชร์ข้อกังวลของเราให้พวกเขา เพราะการมีส่วนร่วม การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ลูกทีมเห็นว่าความเฟลป็นเรื่องปกติ และท้ายที่สุดก็จะช่วยลดลดความกลัวในการทำพลาดได้ 


แม้ว่าเราจะไม่ชอบหรือเห็นด้วยกับความคิดเห็นของลูกทีม เราก็ควรสนับสนุนให้พวกเขาพูดต่อไป เพราะเป้าหมายของเราไม่ใช่การชอบทุกสิ่งที่พวกเขาแชร์ออกมา แต่เป็นการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอว่า เรายินดีรับฟังเสียงของพวกเขา ซึ่งการสอนให้กล้าพูดนี่แหละ จะเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของลูกทีม และองค์กร


แปล เรียบเรียง: พีรพล สดทรัพย์

ที่มา

trending trending sports recipe

Share on

Tags