สรุปรวมปัญหายอดฮิต หัวหน้ามือใหม่จะจัดการอย่างไรดี?

หลายคนกลายเป็นหัวหน้าเพราะ “เก่งงาน” แต่การเป็นหัวหน้าที่ดี ไม่ใช่แค่ทำงานเก่ง แต่ต้อง “เก่งคน” และ “เก่งฟัง” ด้วย

Last updated on เม.ย. 26, 2025

Posted on เม.ย. 26, 2025

“อายุยังน้อย แต่ได้เป็นหัวหน้าแล้ว” ฟังดูดี แต่ความจริงคือ "หัวหน้าอายุน้อย" มักต้องเผชิญปัญหาที่ไม่ค่อยมีใครบอกไว้ตั้งแต่ต้น

ทำไมตำแหน่งมาไวกว่าความมั่นใจ?

หลายคนกลายเป็นหัวหน้าเพราะ “เก่งงาน” แต่การเป็นหัวหน้าที่ดี ไม่ใช่แค่ทำงานเก่ง แต่ต้อง “เก่งคน” และ “เก่งฟัง” ด้วย

ในรายการ CREATIVE TALK Sunday Night Live ได้มีการพูดถึงคนรุ่นใหม่หลายคนขึ้นเป็นหัวหน้าเร็วมากซึ่งนับเป็นโอกาสที่ดี ที่ศักยภาพ ความสามารถบางอย่างของคนทำงานมีความฉายแววที่จะเติบโต แต่ก็อาจจะทำให้คน ๆ นั้นไม่ได้มีเวลาสะสมทักษะการบริหารจัดการคนที่มากพอ พอเจอของจริง เลยสับสนและไม่มั่นใจว่าจะจัดการทีมยังไงดี ไม่ว่าจะเป็นการให้ Feedback การแจ้งข่าวร้าย หรือแม้แต่การวางเป้าหมายกับทีม

และนี่คือสรุปจากในรายการ CREATIVE TALK Sunday Night Live ที่จะรวมปัญหายอดฮิตของคนเป็นหัวหน้ามือใหม่ หรือหัวหน้าอายุน้อย ที่อยากจัดการปัญหาอย่างมืออาชีพ แต่ไม่รู้จะจัดการอย่างไรดี

ฟังรายการเต็ม ๆ ได้ที่


1. Feedback ทีมยังไงไม่ให้เฟล?

หนึ่งในประเด็นฮอตคือ "การให้ Feedback" คำว่า Feedback ในออฟฟิศไทย มักแปลว่า ‘เรื่องไม่ดี’ ทันทีที่ได้ยิน ใคร ๆ ก็ใจหล่น โดยเฉพาะเวลาต้องพูดกับคนที่อายุเท่ากัน เคยเป็นเพื่อน หรืออายุมากกว่าเรา

💭 ถ้าเป็นเรื่องดี → ชมให้ชัด และชมในที่สาธารณะ
💭 ถ้าเป็นเรื่องไม่ดี → คุยแบบส่วนตัว และตั้งใจเตรียมตัวให้ดี
💭 เลือกบรรยากาศที่เหมาะกับสไตล์ของคนฟัง เช่น นัดคุยระหว่างจิบกาแฟ แทนที่จะเรียกเข้าห้องประชุมให้กดดัน

และที่สำคัญ…อย่าใช้ Feedback เป็นการ “หักหน้า” แต่ให้คิดว่าเรากำลัง “ส่งเสริม” เพื่อให้เขาเก่งขึ้น


2. Feedback ลูกน้องที่รู้สึกงานที่ออกมาโอเคแล้ว

บางครั้งทีมรู้สึกว่าทำดีที่สุดแล้ว แต่หัวหน้ากลับเห็นว่ายังไม่เข้าเป้า นี่แหละจุดที่ต้องหาทาง “พูดความจริงโดยไม่บั่นทอนใจ” เพราะบางทีมันอาจจะเกิดจากการที่เราตั้งเป้าหมาย หรือวางความคาดหวังไว้ไม่ตรงกัน ไม่ได้เห็นภาพเดียวกันแต่แรก

🤔 ตั้งเป้าหมาย (Ultimate Goal) ให้ชัดตั้งแต่แรก เช่น บทความนี้ไม่ได้แค่เขียนให้เสร็จ แต่ต้องได้ Engagement ไม่ต่ำกว่า 200 แชร์

🤔 อย่า Feedback ด้วย “คำตอบ” แต่บอกด้วย “คำถาม” เช่น “เราคิดว่างานนี้ยังไม่ดึงคนอ่านมากพอ ลองคิดดูว่าเราจะทำให้มันน่าสนใจกว่านี้ได้ยังไงบ้าง?”

และอย่าลืม…ให้ทีมรู้ว่า "คุณไม่ได้มองแค่สิ่งที่ยังไม่ได้" แต่ "คุณเห็นความพยายามที่เขาใส่ลงไป"


3. อยากพูดกับหัวหน้า...แต่กลัวพูดแล้วพัง?

หลายคนอยาก Feedback หัวหน้าเหมือนกัน แต่อาจกลัวว่าจะโดนมองว่า "ล้ำเส้น" หรือทำให้เกิดผลลัพธ์ไม่ดีกับตัวเองตามมา

เทคนิคคือให้คิดเหมือน “ให้ของขวัญ” เพราะ Feedback คือการให้ ไม่ใช่การจับผิด

ถ้าเราเริ่มด้วยความตั้งใจดี และชัดเจนว่าสิ่งที่พูดไปช่วยให้บรรยากาศหรือประสิทธิภาพในทีมดีขึ้น โอกาสที่หัวหน้าจะรับฟัง ก็จะมากขึ้น

ที่สำคัญเลยคือต้องเป็นการ Feedback เพื่อบอกว่าหากหัวหน้าลองปรับหรือเปลี่ยนบางอย่าง อาจทำให้เกิด Performance บางอย่างที่ดีขึ้น การ Feedback หัวหน้าจะต้องไม่ใช่แค่การใช้อารมณ์บ่นไปเฉย ๆ


4. ต้องบอกเรื่องแย่ ๆ กับทีม ทำยังไงให้ไม่ใจร่วง?

ข่าวร้ายยังไงก็คือข่าวร้าย แต่การ “เล่าให้เป็น” ช่วยลดความเจ็บจากข่าวนั้นได้

🔥 บอกให้ชัด – ไม่อ้อมค้อม ไม่หลอกให้ลุ้น
🔥 บอกให้ไว – ไม่ปล่อยให้ค้างคา
🔥 บอกเป็นการส่วนตัว – เพราะความรู้สึกเสียใจ ไม่ควรถูกเปิดเผยต่อหน้าคนอื่น


🤝 หัวหน้าอายุน้อย ไม่ใช่แค่เก่งงาน แต่ต้อง "เก่งคน"

โลกของการทำงานวันนี้เต็มไปด้วยคนต่างวัย และความเป็นหัวหน้าไม่ได้วัดจากอายุ แต่ขึ้นอยู่กับว่า คุณพาทีมไปถึงเป้าหมายได้อย่างไร และทำให้เขาอยากเดินไปกับคุณหรือเปล่า

สิ่งที่หัวหน้ารุ่นใหม่ต้องฝึกเสมอคือ

  1. ความสม่ำเสมอ – พูดแล้วต้องทำ พูดวันนี้ พรุ่งนี้ต้องเหมือนเดิม
  2. ความจริงใจ – ไม่มีใครอยากฟังคำหวานที่ไม่จริง
  3. การสร้าง Trust – ไม่มีความไว้ใจ = ไม่มีทีม

“ถึงจะเป็นผู้จัดการ แต่ไม่มีใครอยากถูกจัดการ ทุกคนอยากเดินตามผู้นำที่น่าเคารพ”

💡
ท้ายที่สุดหัวหน้าไม่จำเป็นต้องเก่งที่สุด แต่ต้อง “กล้าเรียนรู้” ที่สุด อย่าคิดว่าต้องรู้ทุกเรื่อง, อย่ากลัวที่จะถาม หรือขอคำแนะนำ และมองทุกปัญหาเป็นโอกาสในการเรียนรู้
trending trending sports recipe

Share on

Tags